วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

คำสำคัญ

๑.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาระสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญเป็นระบบข่าวที่กำหนดขึ้นและจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
  •  สารสนเทศ
ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information  หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษทั้งในการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(IT)

เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและกานแสดงผลสารสนเทศ แบ่งเป็น ๒ ส่วน
   ๑.คอมพิวเตอร์
   จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผลและการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ ๒ ส่วนคือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์
   ๑.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น ๔ ส่วนคือ
๑.)หน่วยรับข้อมูล
๒.)หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU)
๓.)หน่วยแสดงผลข้อมูล (Out Put Unit)
๔.)หน่วยความจำสำรอง
   ๒.เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.)ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
๒.)ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
   ๒.เทคโนโลยีการสือสารโทรคมนาคม
   หมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น โทรศัพท์ ระบบดาวเทียมและ ระบบสื่อสารอื่นๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(IT)

เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและกานแสดงผลสารสนเทศ แบ่งเป็น ๒ ส่วน
   ๑.คอมพิวเตอร์
   จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผลและการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ ๒ ส่วนคือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์
   ๑.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น ๔ ส่วนคือ
๑.)หน่วยรับข้อมูล
๒.)หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU)
๓.)หน่วยแสดงผลข้อมูล (Out Put Unit)
๔.)หน่วยความจำสำรอง
   ๒.เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.)ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
๒.)ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
   ๒.เทคโนโลยีการสือสารโทรคมนาคม
   หมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น โทรศัพท์ ระบบดาวเทียมและ ระบบสื่อสารอื่นๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

     แบ่งได้เป็นมี 3 ประเภทดังนี้
- รูปแบบเทคโนโลยีสานสนเทศปัจจุบัน
- พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
            รูปแบบเทคโนดลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
   แบ่งได้ 6 รูปแบบดังต่อไปนี้คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล ก้องวีดิทัศน์เครื่องเอกซเรย์
2. เทคโนโลยีสารสนสนเทศทีใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรATM
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮารืดแวร์ และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่าย ไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอด หรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระบบใกล้และไกล
    ตัวอย่างการใช้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา เช่น
- ระบบ ATM 
- การบริการและการทำธุรกรมมบนอินเทอร์เน็ต
- การลงทะเบียนเรียน 
               พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    คือ การแสดงออกทางความคิด และความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่ สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลข ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
              การใช้อินเทอร์เน็ต
   นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่ในระดับอุดมศึกษาส่วนใหย่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดต่อข่าวสารของสถานศึกษา
             ใช้อินเทอร์เน็ต ทำอะไรบ้าง
   งานวิจัยชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
   นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเทอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน งานวิจัยนักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การสืบขค้นข้อมูลสานสรเทศ
      การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสืบค้น ค้นหา หรือดึงข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้ระบบแหล่งรวมสารสนเทศไว้เป็น จำนวนมาก เพื่อประโยน์ในด้านต่าง เช่นการศึกษา เป็นต้น
         วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
1. เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือการทำงาน
3.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเองและผู้อื่น
4. เพื่อตรวจสอบข้อมูล
5. เพื่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
         Search Enging หมายถึงเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าว สารให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลในเว็บต่างๆ
         ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา
   คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์ในการค้น หาข้อมูล และข่าวสารที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่างๆในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
   ปรเภทของ Search Enging
- อินเด็กเซอร์ (Indexers)
   Search Enging แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดหาข้อมูในการค้นหา หรือเรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ต เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web pages) ต่างๆทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กเซอร์ Indexers ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ เช่น
- http://www.altavista.com                    - http://www.excite.com
- http://www.hotbot.com                      - http://www.magellan.com
- http://www.webcrawler.com

- ไดเร็กเตอร์ (Directories) 
   Searh Engines แบบไดเร้กทอรี่จะใช้การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่ง เปรียบเสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า เลือกจากข้อมูลใหญ่ไปหาเล็ก จนพบข้อมูลที่ต้องการโดยจะแสดงจาก URL ตัวอย่างเช่น
- http://www.yahoo.com                 - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com            - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com            - http://www.siamguru.com

- เมตะเสิร์ช (Metasearch) 
  Search Engines แบบเมตะเสิร์ชใช้ได้หลายๆวิธีการมาช่วยในการสืบค้นข้อมูลโดยจะรับคำสั่งค้น หาแล้วส่งไปยังเว็บไซต์ Search Engines หลายแหล่งพร้อมกัน ทำให้เราเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็ว เช่น
- http://www.dogpile.com              - http://www.highway61.com
- http://www.profusion.com           - http://www.thaifind.com
- http://www.metacrawler.com

     Yahoo
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กเทอร์เป็นรายแรกในอินเทอร์ และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานเป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการค้นหาในแบบเมนู และการค้นแบบวิธีระบุทำที่ต้องการค้นหา
     Altavista
     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp หรือ DEC มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูง จุดเด่น มีเว็บเพจอินเด็กซ์ Indexed Web Pages เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็ยเพจ
     Excite 
     เป็น Search Engines มีจำนวนไซต์ site ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นจาก World wide web เนื่องจาก Excite มีข้อมูลในคลังจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหา มีจำนวนมากตามไปด้วย
     Hotbot 
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์ มีจุดเด่นตรที่สามารถกำหนดเงื่อนไขที่สูงขึ้นได้
     Go.com
    เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆจากแหล่งข่าวต่างๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment New)
     Lgcos
     ฐานข้อมูลของ Lgcos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์ และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูล โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว
     Looksmart 
     เกิดจากความคิดของชาวออสเตเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจในการค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จึงขอความช่วยเหลือจาก Reader's Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายและเหมาะสม กับเนื่อหา
     Webcrawler 
     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลระดับปานกลาง มีข้อจำกัดคือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็น วลีหรือข้อความ    ทั้งข้อความไม่ได้จะมาสารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่
     Dog Pile
     เป็นประเภท เมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำค้นหาลงในช่องค้นหาและกดปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์จะปรากฏบนหน้าจออย่างรวดเร็ว
     Ask jeeves
     เป็นน้องใหม่ในอินเทอร์ โดยเราสามารถถามคำถามที่เราต้องการอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอก ข้อมูล และคลิกปุ่ม Ask แล้วจะปรากฏผลลัพธ์จากเว็บไซต์ต่างๆ
     Profusion
     เป็นการค้นพบแบบ เมตะเสิร์ช ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามรถเลือกได้ว่าใช้ Search Engines สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
     Siamguru.com
     ใต้สมญานาม "เสิร์ชฯไทยพันธ์ไทย" Real Thai Search Engines เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ ค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย มีการค้นหาภาพ เพลงต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
     การใช้งาน  Search Engines
   การระบุคำค้นหา หรือใช้คีย์เวิร์ด yahoo.com การใช่้ต้องป้อนข้อมูล หรือข้อความที่ต้องการ Keyword ลงไปในช่องค้นหา
     การค้นเป็นหมวดหมู่ Directories 
   การค้นหาจากหมวดหมู่ จะมีการแบ่งหัวข้อต่างๆออกเป็นหัวข้อหลัก ในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อยๆ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ

     ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
     สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่ที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรนั้น
     สารสนเทศตรงคำในภาษาอังกฤษว่า (Information) หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเป็นความรู้ และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ มีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ
       
                 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
   เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT คือเป็นเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผงสารสนเทศ
                1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ คือ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของ IT ในปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ มีคุณสมบัติครบถวน ทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น เทคโนโลยีย่อยสำคัญได้ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฮารืดแวร์และเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์
   - เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยง จำแนกตามหน้าที่ (CPU)
     ทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
3. หน่วยแสดงข้อมูล (Output unit)
4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
      2. เทคโลโนยีซอฟต์ (Softwaer) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ทำงานได้ดี
     2.2 ซอฟตืแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เคื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ
     3. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ดามเทียม และอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร

      ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ปี (2520 - 2524)
- มีการจัดตัวศูนย์ประสานงานและปฏิบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
- ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ในแผนพัฒนาจัดทำแผนหลัก เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
- แผนพัฒนาข้างต้นทำให้เทคโนโลยี สารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการการศึกษา ของประเทศไทยมากขึ้น ทำให้การศึกษามีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 ประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณ
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการมีการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์ ผลงาน
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยาการสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์ จึงเลือกให้สารสนเทศช่วยในการตัดสินนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุค ที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุค IT มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดระบบสารสนเทศและ เป็นความถนัดของการใช้บริการ สารสนเทศ แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
       ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
1. ใช้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ประการวางแผนการบริการ
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5. เพื่อให้ทำงานบริการอย่างมีระบบ
       สรุป
       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษา มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง อินเทอรืเน็ต ก่อให้เกิดระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับการบริหารงานใน สถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบ บริหารห้องสมุดและระบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

การทำงานของระบบ network และ internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1 เครือข่ายเฉพราะที่
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้๐กันเช่น อยู้ภายในอาคาร
2 เครือข่ายเมือง
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3 เครือข่ายบริเวณกว้าง
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้น เครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอบคลุมไปทั้วประเทศ หรีอทั่วโลก เชน อินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
       รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย Network Topology การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลัการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายแบ่งได้ 4 แบบคือ1เครือข่ายแบบดาว 2เครือข่ายแบบวงแหวน 3เครือข่ายแบบบัส 4เครือข่ายแบบต้นไม้
  1 แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆมาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้ยวการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับกลาง
    ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาวจะเป็นแบบ 2 ทิศทางฏกยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้
 2  แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยตะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่อข่ายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครืองขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อยๆเป้นวงหากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานี
 3 แบบบัส เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่างๆด้วย สายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่ไม่ให้ทุสถานีส่งข้มูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วีธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่สถานีใช้ความถี่
 4 แบบต้นไม้ เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป้นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม

       การนประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสารและการแบ่งปันการใช้ทรัพยยากรระหว่างเครื่งคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะหมายทั้งหมด
  รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3ประเภท
1 ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2 ระบบเครือข่ายแบบ peer-to Peer
3ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server
              1 ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
     เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินนอลที่อยู่รอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลท่เครื่องกลางซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง
               2 ระบบเครือข่ายแบบ peer-to Peer
      แต่ละสถานืงานบนระบบเครือข่าย Peer- to Peer จะมีความเท่าเทียมกันกับสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครืองพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เคริ่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง
               3 ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server
ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย1เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพพยากรต่างๆจากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

    เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้กับคอมพิวเตอร์รับรู้ และปฎิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์


ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย

ภาษาเครื่อง (Machine Languags)
       เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวเลข 0 และ 1 เป็นรหัสแทนคำสั่งในการทำงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งดดยใช้ตัวเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
  การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัว


ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสแซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอศแซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลที่เรียกว่าแอสแซมบลี(Assembler)เพื่อแปลชุดภาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

ภาษาระดับสูง(High-level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้งายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อมให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือ คอมไพเลอร์(Compiler) และ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpretre)

คอมไพรเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึ่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาเครื่องนั้น

อินเทอร์พลีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่งและให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพรเลอร์กับอินเทอร์พีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งดปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง